วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มารู้จักโปรแกรมsketch upกันเถอะ


ความหมาย



 เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างแบบจำลอง 3D (Three-Dimensional) ที่มีความง่ายต่อการใช้งาน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ในงานออกแบบเชิงสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายในและภายนอก การออกแบบกลไกการทำงานของเครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ ภูมิประเทศ ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงงานออกแบบฉาก อาคาร และสิ่งก่อสร้างในเกม หรือจะเป็นการจัดฉากทำ Story Boards ในงานภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ก็สามารถทำได้
นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับปลั๊กอิน (Plugin) ต่างๆที่ถูกพัฒนาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Google SketchUP ให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปลั๊กอินที่ช่วยให้การสร้างรูปทรงต่างๆสามารถทำได้ง่ายขึ้น ไปจนถึงปลั๊กอินที่ช่วยในการจัดแสงเงาให้ดูสมจริงอย่างเช่น V-Ray หรือ Podium เป็นต้น
ภาพเครื่องมือโปรแกรมsketch  up
เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Google SketchUp จะปรากฏแถบเครื่องมือ ชุด Getting Started เป็นเครื่องมือเริ่มต้นGoogle SketchUp ดังภาพ
ที่มา

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความหมายของการออกแบบผลิตภัณฑ์

1 การออกแบบ   หมายถึง การรู้จักวางแผนเป็นขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุ และวิธีการทำ ให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด ตามความคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดีขิึนอย่างเป็นระดับ   การปรับปรุงผลงาน หรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม มีความแปลกใหม่เพิ่มขึ้น เช่น เก้าอี้นั่งที่ใช้มานานๆ เราสามารถปรับปรุง ให้เป็นรูปแบบใหม่ สวยงาม แปลกกว่าเดิม แต่ยังคงความสะดวกสบายในการใช้งาน เหมือนได้เดิมหรือดีกว่าเดิม เป็นต้น 
   

        


ที่มาhttp://esan.nfe.go.th/elearning/courses/67/chap7_1.htm

2การออกแบบผลิตภัณฑ์     หมายถึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการประกอบกิจการ เพราะการออกแบบจะส่งผลต่อการอยู่รอดของผู้ประกอบการ และเป็นตัวกำหนด แนวทางของการตลาด ในการเจาะกลุ่มเป้าหมายจะมีผลต่อวิธีการสั่งซื้อวัตถุดิบ รวมถึงการผลิต และการขนส่ง รวมถึงมีผลต่อเนื่องไปถึงสายสัมพันธ์กับผู้ขาย    การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ3มิติเข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์โดยนำองค์ประกอบของการออกแบบมาคิด รวมกันและคำนึงถึง ประโยชน์ใช้สอย ความงามอันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ การออกแบบเป็นศิลปะของมนุษย์ เกิดจากการสร้างค่านิยมทาง ความงามและสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์       

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจและ มีความชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้

       1) ส่วนประสมผลิตภัณฑ์
       2) คุณภาพที่แตกต่าง (จะนำเสนอสินค้าหรือบริการ ให้เป็นที่น่าพอใจได้อย่างไร)
       3) เครื่องหมายการค้าและตรายี่ห้อ (จะทำให้กลุ่มเป้าหมายจดจำ และชื่นชอบสินค้าหรือบริการที่นำเสนอได้อย่างไร)

       
   
ที่มา  m.facebook.com/notes/ดี๕-printing-product-design/product-design-คืออะไร/193722187331973/


3การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design) คือการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้บริโภค(consumer)ในวงกว้าง โดยที่รูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยสำคัญ ชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความกระหายที่จะจ่ายเงินซ้อผลิตภัณฑ์นั้น

จากข้อสรุปข้างต้น การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายด้านซึ่งควรจะได้พิจารณาคือ

1.การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์

2.การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต

3. การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค

4.การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม

การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ควรต้องพิจารณาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นประการแรกเพื่อจะได้ออกแบบให้ได้ความคงทนถาวรมากน้อย หรือให้เหมาะสมกับการใช้เพียงชั่วคราวของผลิตภัณฑ์นั้น เพราะการออกแบบจะต้องคำนึงถึงวัสดุและเวลาการผลิตไปพร้อมกัน ถ้าออกแบบโดยไม่ได้ศึกษาถึงคุณภาพตามเป้าหมายของการผลิตแล้ว ก็ไม่สามารถออกแบบที่เหมาะสมได้

การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต

ในที่นี้ใคร่ขอย้ำทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยตรง ด้วยการผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก มีความจำเป็นยิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเช่น เครื่องจักรกล หรือเครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ย่อมเหมาะสมกับวัสดุอย่างหนึ่ง ทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องพิจารณาถึงวัสดุและกระบวนการผลิตไปพร้อมกัน

การออกแบบที่สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอย

หน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณา แม้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องกลไกซับซ้อน ผู้ออกแบบจะไม่รู้ระบบการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้นทั้งหมด ก็ควรจะรู้การทำงานของผลิตภัณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หรือแม้แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลไก ผู้ออกแบบจะต้องทำความเข้าใจกับหน้าที่ใช้สอยเป็นประการสำคัญด้วย

การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค

อาจจะพิจารณาได้ 2 แง่คือความต้องการที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ กับการสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ

ความต้องการที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่เป็นความต้องการที่เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรม รสนิยม และการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆความต้องการของผู้บริโภคยังเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจโดยตรงอีกด้วย ถ้าสภาพสังคมที่กำลังเศรษฐกิจตกต่ำการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ราคาสูง สินค้าฟุ่มเฟือย หรือเน้นความงามทางการออกแบบมากจนผลิตภัณฑ์นั้นราคาสูง การออกแบบเช่นนี้ อาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้

การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม

เพื่อให้ผู้ออกแบบตระหนักถึงความงามที่เด่นชัดร่วมสมัย และมีความคิดสร้างสรรค์แทรกอยู่ในการออกแบบแต่ละชิ้น ความประณีตบรรจงในการออกแบบหรือในผลิตภัณฑ์เป็นคุณค่าส่วนหนึ่ง


การออกแบบผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงสิ่ง10อย่างดังนี้
1.       หน้าที่ใช้สอย (Function)
  •             ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  คือสามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้บริโภคต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหนึ่งผลิตภัณฑ์นั้นอาจมีหน้าที่ใช้สอยอย่างเดียวหรือกลายหน้าที่ก็ได้  แต่หน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่นั้น  ต้องใช้งานไประยะหนึ่งถึงจะทราบข้อบกพร่อง  ตัวอย่างเช่น
  •              การออกแบบโต๊ะอาหารกับโต๊ะทำงาน  โต๊ะทำงานมีหน้าที่ใช้สอยยุ่งยากกว่า มีลิ้นชักสำหรับเก็บเอกสาร เครื่องเขียน  ส่วนโต๊ะอาหารไม่จำเป็นต้องมีลิ้นชักเก็บของ  ระยะเวลาของการใช้งานสั้นกว่า แต่ต้องสะดวกในการทำความสะอาด
  •              การออกแบบเก้าอี้  หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้คือใช้นั่ง  ด้วยกิจกรรมต่างกัน  เช่น  เก้าอี้รับประทานอาหารลักษณะและขนาดต้องเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร  เก้าอี้เขียนแบบลักษณะและขนาดต้องเหมาะสมกับโต๊ะเขียนแบบ  ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า  ปวดหลัง  ปวดคอ  และนั่งทำงานได้ไม่นาน
  •              การออกแบบมีดที่ในครัวนั้นมีอยู่มากกมายหลายชนิดตามการใช้งานเฉพาะเช่น มีดปอกผลไม้  มีดแล่เนื้อสัตว์  มีดสับกระดูก มีดหั่นผัก เป็นต้น  ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวตั้งแต่แล่เนื้อ สับกระดูก หั่นผัก  ก็อาจจะใช้ได้แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจจะได้รับอุบัติเหตุขณะใช้ได้  เพราะไม่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเป็นการเฉพาะอย่าง
2.       ความสวยงามน่าใช้ (Aesthetics or sales appeal)
  •                ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมานั้นจะต้องมีรูปทรง ขนาด สีสันสวยงาม น่าใช้ ตรงตามรสนิยมของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย  เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและได้ผลดี  เพราะความสวยงามเป็นความพึงพอใจแรกที่คนเราสัมผัสได้ก่อนมักเกิดมาจากรูปร่างและสีเป็นหลัก  การกำหนดรูปร่างและสีในงานออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น  ไม่เหมือนกับการกำหนดรูปร่างและสีในงานจิตรกรรม  ซึ่งสามารถที่จะแสดงหรือกำหนดรูปร่างและสีได้ตามความนึกคิดของจิตกร แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น  จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานของรูปร่างและสีสัน  ระหว่างทฤษฎีทางศิลปะและความพึงพอใจของผู้บริโภคเข้าด้วยกัน  ถึงแม้ว่ามนุษย์แต่ละคนมีการรับรู้และพึงพอใจในเรื่องของความงามได้ไม่เท่ากัน  และไม่มีกฎเกณฑ์การตัดสินใจใดๆ ที่เป็นตัวชี้ขาดความถูกความผิด  แต่คนเราส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่จะมองเห็นความงามไปในทิศทางเดียวกันตามธรรมชาติ  ตัวอย่างเช่น  ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ ของที่ระลึก และของตกแต่งบ้านต่างๆ ความสวยงามก็คือหน้าที่ใช้สอยนั้นเอง  และความสวยงามจะสร้างความประทับใจแก่ผู้บริโภคให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้
3.       ความสะดวกสบายในการใช้  (Ergonomics)
  •             การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นต้องเข้าใจกายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับขนาด สัดส่วน  ความสามารถและขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะต่างๆ ของผู้ใช้ การเกิดความรู้สึกที่ดีและสะดวกสบายในการใช้ผลิตภัณฑ์  ทั้งทางด้านจิตวิทยา(Psychology)และสรีระวิทยา(Physiology)  ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะเพศ เผ่าพันธุ์ ภูมิลำเนา และสังคมแวดล้อมที่ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นข้อบังคับในการออกแบบ
  •              การวัดคุณภาพทางด้าน กายวิภาคเชิงกล(ergonomics) พิจารณาได้จากการใช้งานได้อย่างกลมกลืนต่อการสัมผัส  ตัวอย่างเช่น  การออกแบบเก้าอี้ต้องมีความนุ่มนวล  มีขนาดสัดส่วนที่นั่งแล้วสบาย  โดยอิงกับมาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตกมาออกแบบเก้าอี้สำหรับชาวเอเชีย เพราะอาจเกิดความไม่พอดีหรือไม่สะดวกในการใช้งาน  ออกแบบปุ่มบังคับ  ด้ามจับของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ  ที่ผู้ใช้ต้องใช้ร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน  จะต้องกำหนดขนาด (dimensions)  ส่วนโค้ง  ส่วนเว้า  ส่วนตรง  ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อทำให้เกิดความถนัดและความสะดวกสบายในการใช้  รวมทั้งลดอาการเมื่อยล้าเมื่อใช้ไป นานๆ
4.       ความปลอดภัย (Safety)
  •              ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีพของมนุษย์  มีทั้งประโยชน์และโทษในตัว  การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภคเป็นสำคัญ  ไม่เลือกใช้วัสดุ สี  กรรมวิธีการผลิต  ฯลฯ  ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือทำลายสิ่งแวดล้อม  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องแสดงเครื่องหมายเตือนไว้ให้ชัดเจนและมีคำอธิบายการใช้แนบมากับผลิตภัณฑ์ด้วย  ตัวอย่างเช่น  การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  ควรมีส่วนป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากความเมื่อยล้าหรือพลั้งเผลอ เช่น จากการสัมผัสกับส่วนกลไกทำงาน จากความร้อน จากไฟฟ้าดูด ฯลฯ จากการสัมผัสกับส่วนกลไกทำงาน จากความร้อน จากไฟฟ้าดูด ฯลฯ หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ง่ายต่อการเกิดอัคคีภัยหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  และควรมีสัญลักษณ์หรือคำอธิบายติดเตือนบนผลิตภัณฑ์ไว้  การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ต้องเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีสารพิษเจือปน  เผื่อป้องกันเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรือออม  ชิ้นส่วนต้องไม่มีส่วนแหลมคมให้เกิดการบาดเจ็บ  มีข้อความหรือสัญลักษณ์บอกเตือน  เป็นต้น
5.       ความแข็งแรง (Construction)
  •             ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมานั้นจะต้องมีความแข็งแรงในตัว  ทนทานต่อการใช้งานตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่กำหนดโครงสร้างมีความเหมาะสมตามคุณสมบัติของวัสดุ ขนาด แรงกระทำในรูปแบบต่างๆ จากการใช้งาน ตัวอย่างเช่น การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ดีต้องมีความมั่นคงแข็งแรง  ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก  ต้องสามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้งานให้กับผู้ใช้ด้วย เช่น การจัดท่าทางในการใช้งานให้กับผู้ใช้ด้วย เช่น การจัดท่าทางในการใช้งานให้เหมาะสม สะดวกสบาย ถูกสุขลักษณะ  และต้องรู้จักผสมความงามเข้ากับชิ้นงานได้อย่างกลมกลืน  เพราะโครงสร้างบางรูปแบบมีความแข็งแรงดีมากแต่ขาดความสวยงาม จึงเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่จะต้องเป็นผู้ผสานสองสิ่งเข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้  นอกจากการเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย
6.       ราคา (Cost)
  •              ก่อนการออกแบบผลิตภัณฑ์ควรมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นกลุ่มใด  อาชีพอะไร ฐานะเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้นักออกแบบสามารถกำหนดแบบผลิตภัณฑ์และประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายได้ใกล้เคียงมากขึ้น  การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมนั้น  ส่วนหนึ่งอยู่ที่การเลือกใช้ชนิด  หรือเกรดของวัสดุ  และวิธีการผลิตที่เหมาะสม  ผลิตได้ง่ายและรวดเร็ว  แต่ในกรณีที่ประมาณราคาจากแบบสูงกว่าที่กำหนดก็อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่เพื่อลดต้นทุน  แต่ทั้งนี้ต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น 
7.       วัสดุ (Materials)
  •              การออกแบบควรเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติด้านต่างๆ ได้แก่ ความใส ผิวมันวาว ทนความร้อน ทนกรดด่างไม่ลื่น ฯลฯ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงความง่ายในการดูแลรักษา  ความสะดวกรวดเร็วในการผลิต สั่งซื้อและคงคลัง รวมถึงจิตสำนึกในการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ก็เป็นสิ่งที่นักอกแบบต้องตระหนักถึงในการออกแบบร่วมด้วย  เพื่อช่วยลดกันลดปริมาณขยะของโลก 
8.       กรรมวิธีการผลิต (Production)
  •              ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดควรออกแบบให้สามารถผลิตได้ง่าย รวดเร็ว ประหยัดวัสดุ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ในบางกรณีอาจต้องออกแบบให้สอดคล้องกับกรรมวิธีของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม  และควรตระหนักอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะลดต้นทุนได้รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการประหยัดเพราะการผลิตทีละมากๆ  
9 .       การบำรุงรักษาและซ่อมแซม (Maintenance)

  •              ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดควรออกแบบให้สามารถบำรุงรักษา และแก้ไขซ่อมแซมได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเมื่อมีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้น  ง่ายและสะดวกต่อการทำความสะอาดเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์  รวมทั้งควรมีค่าบำรุงรักษาและการสึกหรอต่ำ  ตัวอย่างเช่น  ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือ  เครื่องจักรกล  เครื่องยนต์  และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือจากการใช้งานที่ผิดวิธี  การออกแบบที่ดีนั้นจะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้น  เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ  ให้สะดวกในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ได้โดยง่าย  นอกจากนั้นการออกแบบยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย  เช่น  การใช้ชิ้นส่วนร่วมกันให้มากที่สุด  โดยเฉพาะอุปกรณ์ยึดต่อการเลือกใช้ชิ้นส่วนขนาดมาตรฐานที่หาได้ง่าย การถอดเปลี่ยนได้เป็นชุดๆ การออกแบบให้บางส่วนสามารถใช้เก็บอะไหล่  หรือใช้เป็นอุปกรณ์สำรับการซ่อมบำรุงรักษาได้ในตัว  เป็นต้น
10.       การขนส่ง (Transportation)

  •              ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบควรคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง  ความสะดวกในการขนส่ง  ระยะทาง  เส้นทางการขนส่ง (ทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ ) การกินเนื้อที่ในการขนส่ง (มิติความจุ  กว้าง ´ ยาว ´ สูง  ของรถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุกทั่วไป ตู้บรรทุกสินค้า ฯลฯ) ส่วนการบรรจุหีบห่อต้องสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหายของผลิตภัณฑ์ได้ง่าย กรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบนั้นมีขนาดใหญ่  อาจต้องออกแบบให้ชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ง่าย เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กลง ตัวอย่างเช่น  การออกแบบเครื่องเรือนชนิดถอดประกอบได้  ต้องสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในตู้สินค้าที่เป็นขนาดมาตรฐานเพื่อประหยัดค่าขนส่งรวมทั้งผู้ซื้อสามารถทำการขนส่งและประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตัวเอง
  •               งานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้องผสมผสานปัจจัยต่างๆ  ทั้งรูปแบบ(form) ประโยชน์ใช้สอย(function)  กายวิภาคเชิงกล(ergonomics)และอื่นๆ  ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต แฟชั่น หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างกลมกลืนลงตัวมีความสวยงามโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการตลาด และความเป็นไปได้ในการผลิตจำนวนมาก    ส่วนการให้ลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การออกแบบเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าตามแฟชั่น  อาจพิจารณาที่ประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกสบายในการใช้ และความสวยงาม เป็นหลัก  แต่สำหรับการออกแบบยานพาหนะ เช่น  จักรยาน  รถยนต์  หรือเครื่องบิน  อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวครบทุกข้อหรือมากกว่านั้น





ที่มาhttp://netra.lpru.ac.th/~weta/ch-2/




สรุป

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ควรต้องพิจารณาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นประการแรกเพื่อจะได้ออกแบบให้ได้ความคงทนถาวรมากน้อย หรือให้เหมาะสมกับการใช้เพียงชั่วคราวของผลิตภัณฑ์นั้น เพราะการออกแบบจะต้องคำนึงถึงวัสดุและเวลาการผลิตไปพร้อมกัน ถ้าออกแบบโดยไม่ได้ศึกษาถึงคุณภาพตามเป้าหมายของการผลิตแล้ว ก็ไม่สามารถออกแบบที่เหมาะสมได้

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีสมัยใหม่


ในปี 2013 ที่ผ่านมามีผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้นมากมาย และในปี 2014 ที่กำลังจะมาถึงยังมีเทคโนโลยีใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์รุ่นต่อยอดจากรุ่นเก่ารอคอยที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเสียที ซึ่งเราไปดูกันซิว่า 10 เทรนด์เทคโนโลยีของปี 2014 จะมี “ของเล่นใหม่” ใดที่น่าสนใจบ้าง 
1. Google Glass และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สวมใส่
Wearable-Computing
Google ให้คำมั่นว่า Google Glass จะเปิดวางขายจริงให้กับประชาชนทั่วไปในสหรัฐอเมริกาในปี 2014 นี้ ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งว่าแว่นตาอัจฉริยะนี้จะได้รับความนิยมมากน้อยเพียงใด และเมื่อ Google กล้าคิดกล้าทำ บริษัทไอทีชั้นนำรายอื่นๆก็ไม่น้อยหน้าก็เตรียมเดินหน้าพัฒนาแก็ดเจ็ตสวมใส่กันอย่างคึกคักเช่นกัน ทั้ง SamsungLG และ Apple

2. iPhone และ iPad จะใหญ่ขึ้น
iphone-and-ipad-bigger
จากพฤติกรรมของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ตอบรับกับหน้าจอขนาด 5 นิ้วขึ้นไป หรือที่เรานิยามกันว่า Phablet (แฟ็บเล็ต) ส่งผลให้มีเสียงเรียกร้องให้ Apple หันมาสนใจการทำ iPhone ขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้นบ้าง ซึ่งก่อนจะสิ้นปี 2013 ก็เริ่มมีข่าวเล็ดลอดว่าiPhone 6 จะมีหน้าจอใหญ่ขึ้น แต่จะเป็นขนาดใดรระหว่าง 4.4 – 5.7 นิ้ว ตอนนี้ยังไม่มีใครตอบได้
ขณะเดียวกัน iPad ก็จะพัฒนาให้ใหญ่ขึ้นเช่นกัน จากเดิมที่คงขนาด 9.7 นิ้วก็จะถูกอัพไซส์ไปเป็นขนาด 12 นิ้ว เพื่อให้แท็บเล็ตสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ใกล้เคียงกับโน๊ตบุค และจะมีน้ำหนักเบากว่ามาก

3. Smartwatch
smartwatch-2014-trend
ในปี 2013 เราได้เห็นความพยายามจากหลายค่ายไอทีชั้นนำที่จะผลักดันให้ Smartwatch สามารถตอบโจทย์ผูู้ใช้ทั่วไปแทนที่การใช้สมาร์ทโฟน แต่เนื่องจากแอพพลิเคชั่นจำนวนมากยังไม่รองรับการใช้งานควบคู่กับ Smartwatch และฟีเจอร์โดยทั่วไปยังวนเวียนอยู่เพียงการแจ้งเตือน ฉะนั้นในปี 2014 จึงเป็นโอกาสที่หลายค่ายที่เปิดตัว Smartwatch ไปแล้วอย่างSamsungSony และ Pebble จะได้ต่อยอดอุปกรณ์สวมใส่ ขณะเดียวกันเราก็จะได้เห็น Smartwatch จาก Google และApple เปิดตัวอย่างเป็นทางการเสียที

4. Windows 8.2 กับการกลับมาอย่างเต็มรูปแบบของปุ่ม Start
windows-8.2
หลังจาก Windows 8 โดนโจมตีอย่างหนัก โดยเฉพาะการขาดหายไปของปุ่ม Start ทำให้ไมโครซอฟท์เร่งพัฒนาโอเอส Windows 8.1พร้อมนำปุ่ม Start กลับมาประจำการเช่นเดิม แต่การกลับมาครั้งนี้ไม่สามารถเรียกใช้งานเมนูต่างๆได้เหมือนก่อน อย่างไรก็ดีคาดว่าในปี 2014 จะโอเอสใหม่อย่าง Windows 8.2 เกิดขึ้น พร้อมพัฒนา Modern UI ให้การใช้งานง่าย สะดวกสบายต่อผู้ใช้

5. Chrome OS จะมีลักษณะคล้าย Windows มากขึ้น
chome-os-2014
ในปี 2014 คอมพิวเตอร์ Chromebook และระบบปฏิบัติการ Chrome OS จะเข้ามามีบทบาทในตลาดโน๊ตบุคมากขึ้น เนื่องจาก Google ตั้งเป้าพัฒนาแอพพลิเคชันแบบออพไลน์สำหรับ Chrome OS มากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาแพลตฟอร์มให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพบน Chromebook ตลอดจนแท็บเล็ตแบบไฮบริดรุ่นใหม่

6. Oculus Rift VR Headset อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนประสบการณ์การเล่นเกมแบบใหม่
Oculus-Rift-VR-Headset
Oculus Rift VR Headset เปิดตัวไปเมื่องาน CES 2013 อุปกรณ์สวมใส่คล้ายแว่นตาขนาดใหญ่ที่จะช่วยเพิ่มมุมมองได้มากถึง 110 องศา สามารถเปลี่ยนมุมมองได้เองตามการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน พร้อมแสดงภาพในรูปแบบ 3 มิติด้วย ซึ่งในปี 2014 เป็นโอกาสาอันดีที่จะเกิดเกมใหม่ๆ หรือการพัฒนาเกมเก่าต่างๆ ให้รองรับกับการใช้งาน Oculus Rift VR Headset ได้

7. Ultrabook ที่มากับกล้องเว็บแคมแบบ 3 มิติ
ultrabook-3d-web-cam
ช่วงปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนากล้อง Senz3D ขึ้น เพื่อการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ แต่การจะใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคผู้ใช้จะต้องติดตั้งกล้องขนาดใหญ่ด้านบนหน้าจอของพวกเขา อย่างไรก็ตามในปี 2014 จะเป็นครั้งแรกของ Ultrabook และแท็บเล็ตจะมีการติดตั้งกล้องแบบ 3 มิติมาให้ในตัวด้วยเลย
8. สมาร์ทโฟนหน้าจอความละเอียดสูง และหน้าจอโค้งงอมากขึ้น
ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าสมาร์ทโฟนมีการพัฒนาด้านความละเอียดหน้าจอให้เพิ่มสูงขึ้นเสมอๆ ซึ่งในปี 2014 ก็เช่นกัน เราจะเห็นว่าทั้ง Samsung Galaxy S5, LG G3 หรือ iPhone 6 ต่างมีข่าวเรื่องการเพิ่มความละเอียดเดิมไปอยู่ในระดับ 2K (2560 x 1440 พิกเซล) ก่อนพัฒนาไปสู่ระดับ 4K ในปี 2015 ขณะเดียวกันสมาร์ทโฟนแบบหน้าจอโค้งงอจะถูกเปิดตัวมากขึ้น โดยมีผู้นำเทรนด์อย่าง SamsunLG
ที่มาhttp://www.arip.co.th/tech-trend-2014/

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประวัติของฉัน



ชื่อเด็กหญิง    ฟาริดา    จารุจันทร์   

เบอร์โทรศัพท์   0932547370
 
ชื่ออังกฤษ     farida jarujan
 
ชื่อเล่น     ข้าวตู     อายุ12 ปี       เกิดเมื่อวันที่28 ธันวาคม 

บิดาชื่้่อนายเสน่ห์ จารุจันทร์                                                          

มารดาชื่อนางสาว ไวลิน   จันทะวงศ์  

อาศัยอยู่บ้านเลขที่  273  หมู่ 10  บ้าน ต้า ตำบลชมภู   อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง

ส่วนสูง 142       น้ำหนัก38

เรียนอยู่ชั้นม.1/4   โรงเรียนลำปางกัลยาณี

สีที่ชอบสีเหลือง

อาหารที่ชอบ แกงเขียวหวาน

สัตว์เลี็ยงที่ชอบ   สุนัข

เพื่อนที่สนิท เด็กหญิง ธนัชชา   ธรรมชัย