วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โครงงานเทียนหอมไล่ยุง



โครงงานเทียนหอมไล่ยุง



บทคัดย่อยุง เป็นพาหะนะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น จึงมีผู้คิดทำตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิดเช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ ผู้จัดทำโครงงานได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบตะไคร้หอมทำเป็นแล้ววางไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ ผู้จัดทำจึงได้ทำเทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและหยุดปัญหาการแพ้สารเคมี
 
ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้าพาราฟินที่หลอมเหลว แล้วผสมกับน้ำใบตะไคร้ตากแห้ง
 
สมมติฐานของการศึกษา1. ตะไคร้สามารถไล่ยุงได้
2. เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้
3. เทียนหอมสมุนไพรที่ผลิตขึ้นได้น่าจะมีกลิ่นของสมุนไพรซึ่งได้แก่ตะไคร้หอมให้กลิ่นที่หอมสดชื่น

ตัวแปรตัวแปรต้น _ ใบตะไคร้ตากแห้ง
ตัวแปรตาม – ไล่ยุงได้
ตัวแปรควบคุม – ใบตะไคร้ตากแห้ง 10 กรัม
พาราฟินหลอมเหลว 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
S.A 1 ช้อนชา
P.E 1 ช้อนชา


อุปกรณ์วัสดุ1. พาราฟิน
2. ใบตะไคร้ตากแห้ง
3. S.A
4. P.E
5. ไส้เทียน
6. สีเทียน
อุปกรณ์
1.หม้อ
2.ทัพพี
3.แม่พิมพ์
4.มีด
5.เขียง
6.อุปกรณ์ตกแต่ง
7.ผ้าขาวบาง
อุปกรณ์1.หม้อ
2.ทัพพี
3.แม่พิมพ์
4.มีด
5.เขียง
6.อุปกรณ์ตกแต่ง
7.ผ้าขาวบาง


วิธีการทดลอง1 .นำใบตะไคร้ไปตากแดด
 
2. หั่นใบตะไคร้ตากแห้งเป็นชิ้นเล็กๆ
3. นำไปตะไคร้ตากแห้งไปต้มในน้ำเดือด
4. กรองน้ำตะไคร้ด้วยผ้าขาวบาง

5. หั่นพาราฟินเป็นชิ้นเล็กๆ
6. นำพาราฟินที่หั่นแล้วใส่หม้อขึ้นตั้งความร้อนปานกลาง เคี้ยวไปจนละลายเป็นของเหลว
7. ใส่ S.A และ P.E ลงไปอย่างละประมาณ 1 ช้อนชา เสร็จแล้วใส่สีเทียนลงไปพอประมาณ แล้วตามด้วยน้ำตะไคร้หอม
 
8. นำพาราฟินที่ละลายแล้วใส่แม่พิมพ์และใส้เทียนลงไป

9. แกะเทียนออกจากแม่พิมพ์และตกแต่งให้สวยงาม
10. ทำกล่องบรรจุภัณฑ์
ผลการทดลองเทียนหอมสมุนไพรกลิ่นตะไคร้หอมที่ได้จะมีกลิ่นหอมของตะไคร้หอมและสามารถไล่ยุงได้ดี ไม่แพ้ยากันยุง และพบว่ายุงตายด้วย
 
สรุปผลการทดลอง
1. การทำเทียนหอมไพรทำได้ยาก และมีขั้นตอนการทำที่ง่าย
2.ใบตะไคร้ที่ใช้ทำเทียนสมุนไพรมีคุณสมบัติให้กลิ่นและสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
3.มีขั้นตอนการทำไม่ยากและยังเป็นการนำพืชสมุนไพรจากท้องถิ่นของเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ1.ทำให้ทราบประโยชน์ของใบตะไคร้ว่าสามารถไล่ยุงได้
2. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการซื้อครีมทากันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง
3. ไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
4. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.ได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด



ข้อเสนอแนะ1สามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสมได้
2.การทำเทียนหอมเราควรนำสมุนไพรที่อบแห้งใส่ลงไปในเนื้อเทียน หอมด้วย อาจจะได้กลิ่นสมุนไพรมากขึ้น
3. ควรนำสมุนไพรหลายชนิดมาทำเทียนหอมสมุนไพรเพื่อเปรียบเทียบกลิ่นที่ได้และรับความนิยม
4.เราสามารถเทียนหอมสมุนไพรเพื่องานอดิเรกและสามารถนำประกอบอาชีพได้อีกด้วย
 
  ตะไคร้



ชื่อวิทยาศาสตร์
Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle,
Cymbopogon winterianus Jowitt.
ชื่อวงศ์
Gramineae
ชื่ออังกฤษ
Citronella grass
ชื่อท้องถิ่น
จะไคมะขูดตะไครมะขูดตะไคร้แดง

รายละเอียด
        1.  ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง  น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ (1)  ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม.  ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5%  จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม.  (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย  เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. (4) และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50และร้อยละ 95 (EC95มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% (5)  สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย (6)
               น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ดีในการไล่ตัวอ่อนของเห็บ โดยให้ผลในการไล่ได้นานถึง 8 ชม.  (7)  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่จะมาทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว(8) ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืน (9) และพวกแมลงบินต่างๆ ได้ (10)

2.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุงน้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor (11, 12), cineol (13-15), eugenol (16-19), linalool (20), citronellal, citral (17)
3.  การทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุงมีการศึกษาผลของครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 14% ในการทาป้องกันยุงรำคาญกับอาสาสมัคร 40 คน เปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา พบว่าสามารถป้องกันยุงได้ 13 คน ในอาสาสมัครที่ทาครีม 20 คน ขณะที่อาสาสมัครที่ทาครีมที่ไม่มีตัวยา จะไม่สามารถป้องกันยุงได้ 21ตัว  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14% พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate 20% + diethyl toluamide 5%) (22)
4. ฤทธิ์ฆ่าแมลงน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม เมื่อนำมารมเมล็ดถั่ว นาน 72 ชม.  มีผลฆ่าแมลง Callosobruchus maculatus ที่จะมาทำลายเมล็ดถั่วได้ น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยไม่มีผลต่อการงอกของถั่ว (23) แต่มีผลต่อ parasite ของแมลงชนิดนี้มากกว่า (24)  สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้ แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว (25)  สารสกัดตะไคร้หอม ความเข้มข้น 100 ppm จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ (26) แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชม. (27)  นอกจากนี้สารสกัด10% เอทานอล (ต้นตะไคร้หอมแห้ง 200 ก./4 ลิตร)  จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง (28) แชมพูที่ส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ (29)
5.  การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) จากต้น ขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ (30)
 การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง
1.  ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ
2.  ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆตัว